ReadyPlanet.com
dot dot
MAX BRIGHT ไฟฉุกเฉิน
LiFePO4 / Global Power
dot
dot




รูปแบบการติดตั้งใช้งาน Exit Sign

 รูปแบบการติดตั้งใช้งาน Exit Sign  

การติดตั้ง Exit Light หรือ ป้ายไฟทางออกฉุกเฉินนั้น ขึ้นอยู่กับพื้นที่ว่าเป็นสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โรงมหรสพ อพาร์ทเม้น โรงงาน หรืออื่น ๆ ต้องเลือกดูตำแหน่งติดตั้งเช่นบนประตูทางออก ที่ผนัง ฝ้าเพดาน หรือแขวนห้อย ตามความเหมาะสม เพื่อให้มองเห็นได้ชัดเจน ตามทางเดิน ทางเลี้ยว ทางร่วม ทางแยกต่าง ๆ  แล้วเลือกแบบเครื่อง Box Type หรือ Slim Type ฝังฝ้า / ใต้ฝ้าเพดาน และเลือกแบบป้าย ให้เหมาะกับตำแหน่งติดตั้ง ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้

รูปแบตัวเครื่องป้ายไฟทางออก (Exit light) 

 

1.       แบบ Box Type EXB-111 ED และ EXB-112 ED 1 และ 2 หน้า รูปแบบการติดตั้งสามารถติดห้อยแขวนฝ้าเพดานดังรูป 1-2ยึดติดฝ้าเพดาน รูป 4-5 และติดผนัง รูป 8

2.       แบบ Slim Type EXB-303 SCE – TCE ED 1 และ 2 หน้า ตัวเครื่องติดลอย สามารถติดแขวนลอยใต้ฝ้าเพดานดังรูป 3 หรือยึดติดฝ้าเพดาน รูป 6

3.       แบบ Slim Type EXB-303 SRE – TRE ED 1 และ 2 หน้า แบบฝังฝ้าเพดาน การติดตั้งตัวเครื่องติดฝังในฝ้าเพดานโผล่ให้เห็นเพียงหน้าปัทม์เครื่อง ดังรูป 7

การติดตั้ง Exit Sign ในลักษณะรูปแบบต่าง ๆ

 

ระดับความสูงและตำแหน่งติดตั้งป้าย 

ระยะห่างในการติดตั้ง ตามขนาดความโตของป้าย  

ตำแหน่งในการติดตั้ง ระยะ / ทางร่วม / ทางแยก / ทางออกสุดท้าย และรูปแบบป้าย 1-2 หน้า

รูปแบบป้ายมาตรฐาน

 

 

  ข้อสรุปรูปแบบการติดตั้งป้าย Exit Light หรือ ป้ายทางหนีภัย และการตรวจสอบ (วสท. 2004-54)

1.       ติดตั้งตามทางเดิน/ทางหนีไฟ เพื่อให้อพยพไปยังประตูทางออกที่ใกล้ที่สุด

2.       การติดตั้งเหนือประตู หรือตามทางเดิน ความสูง 2-2.7 ม.

3.       ป้ายสัญลักษณ์ขนาด 10 ซม. ต้องติดตั้งภายในระยะ 24 ม.ขนาด 15 ซม. ติดตั้งภายในระยะสายตา 36 ม.และขนาด 20ซม. ติดตั้งระยะห่างได้ 48 ม.

4.       แหล่งจ่ายไฟต้องมาจากแหล่งไฟฟ้าปกติ แยกวงจรจากระบบอื่นเพื่อสามารถทดสอบได้สะดวก และมีแบตเตอรี่สำรองไฟ

5.       เมื่อไฟฟ้าดับต้องให้ความส่างติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 90 นาที สำหรับอาคารขนาดใหญ่ อาคารสูงตามที่กฎหมายกำหนด ต้องไม่น้อยกว่า 120 นาที

6.       การตรวจสอบป้ายจะต้องมีการจดบันทึกระบุผลการตรวจ ผู้ตรวจและวันที่ไว้ สามารถดูและตรวจสอบได้

7.       การตรวจสอบการทำงานต้องทำการตรวจสอบทุกระยะ 3 เดือน ทดสอบให้สำรองไฟนาน 30 นาที และทุก 1 ปี ต้องสำรองไฟนาน 60 นาที และประจุแบตเตอรี่ตามปกติจนเต็มและพร้อมใช้งาน 

 

   ผู้เรียบเรียง มีจุดประสงค์เพื่อให้ข้อมูลความรู้กับผู้ดูแลอาคาร และผู้ติดตั้งใช้งาน เพื่อเลือกการติดตั้ง Exit Light ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับพื้นที่ เพื่อความปลอดกับผู้ใช้อาคาร

 

   ในการนี้ผู้เรียบเรียง ขอขอบพระคุณแหล่งที่มาของข้อมูล สมาคมไฟฟ้าแสงสว่างแห่งประเทศไทย, วสท. 2004-54 มาตรฐานไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน, มอก. 2539-2554 การติดตั้งโคมไฟป้ายทางออกฉุกเฉินชนิดส่องสว่างจากภายใน สำหรับอาคาร

โดย Winwin Team 18/01/61

 

 




NEWS

การติดตั้งและใช้งาน ไฟฉุกเฉิน
วิธีการติดตั้ง Sealing Fitting
การติดตั้งหลอดไฟ LED T8
การติดตั้งใช้งานไฟฉุกเฉิน Emergency light 220Vac
การติดตั้งใช้งาน Central Unit Emergency light
การติดตั้งไฟแสงสว่างฉุกเฉินระบบ220V
ทำไมถึงควรเลือกป้ายไฟสะท้อนแสง
Li-ION Battery และ Ni-MH Battery Pack
การเลือกใช้ป้ายไฟทางออก Exit light
Central Battery Emergency Light
การเลือกซื้อและใช้งานเครื่องไฟฉุกเฉิน
Exit light มาตรฐาน มอก
Emergency light มาตราฐาน มอก
ข้อกำหนดรูปแบบป้ายทางออกทางหนีไฟตามกฎหมาย มาตราฐาน วสท. และ มยผ.



Win Win Universe Co.,Ltd.